ข้อมูลผู้ประเมิน

2. ศิลปะ 1   รหัสวิชา ศ31101   ชั้น ม.4/1-2   

3. วาดเส้นสร้างสรรค์   รหัสวิชา ศ30264   ชั้น ม.4/2   

4. การเขียนการ์ตูน   รหัสวิชา ศ30262   ชั้น ม.5/2    

5. การเขียนภาพล้อเลียน   รหัสวิชา ศ30260   ชั้น ม.6/2    

6. กฎหมายในชีวิตประจำวัน   รหัสวิชา ส31214   ชั้น ม.4/2   

7. ประวัติศาสตร์ 4   รหัสวิชา ส32104   ชั้น ม.5/1-2 

ส่วนที่ 2  ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การแก้ไขปัญหา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น  


ประเด็นท้าทาย  เรื่อง การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้ Active Learning รายวิชาการวาดภาพล้อเลียน รหัสวิชา ศ30260 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 ปีการศึกษา 2567 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสาธิต (Demonstration Method) บูรณาการกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ (Process) เพื่อให้ค่าเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเป็นไปตามเกณฑ์การประเมินของระเบียบวัดผลประเมินผลของโรงเรียนห้วยกรดวิทยา จังหวัดชัยนาท ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 61.01 

          1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน  การจัดการเรียนรายวิชาการวาดภาพล้อเลียน รหัสวิชา ศ30260 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ที่ผ่านมา พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 จำนวน 30 คน มีผลการเรียนวิชาวาดภาพล้อเลียน ระดับดีเยี่ยม 3.0 ขึ้นไปจำนวน 10 คน เฉลี่ยร้อยละ 33.33 ระดับปรับปรุงถึงพอใช้ 0-2.5 จำนวน 11 คน เฉลี่ยร้อยละ 36.66 ผลการเรียน มส. จำนวน 9 คน เฉลี่ยร้อยละ 30 ซึ่งต่ำกว่า ตัวชี้วัดความสำเร็จของค่าเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับดี (ผลการเรียน 3.00 ขึ้นไป) ตามเกณฑ์การประเมินของระเบียบวัดผลประเมินผลของโรงเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนห้วยกรดวิทยา จังหวัดชัยนาท ที่ได้วางไว้ซึ่งได้กำหนดค่าเป้าหมายปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 58.76 และปีการศึกษา 2566 ร้อยละ 60.52 ผลการเรียนนักเรียนที่ไม่ถึง 3.00 มีจำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 66.66 ของจำนวนนักเรียนในห้อง จึงส่งผลให้ค่าเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะไม่เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ จากที่ได้นำปัญหานี้ไป PLC กับครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาเหตุที่มาจากนักเรียนไม่มาเรียน หนีเรียน หรือเข้าเรียนแล้วไม่สนใจปฏิบัติงาน งานไม่เสร็จในคาบเรียน ให้นำกลับไปทำต่อแล้วนำมาส่งในสัปดาห์ต่อไปแต่นักเรียนไม่มีงานมาส่ง ครูผู้สอนติดตามนักเรียนให้โอกาสส่งงานย้อนหลังและนัดหมายมาเรียนซ่อมเสริม มาฝึกปฏิบัติงานนอกเวลาเรียน แต่นักเรียนก็ยังไม่สนใจ ครูผู้สอนได้ติดต่อแจ้งพฤติกรรมให้ผู้ปกครองทราบ ผู้ปกครองรับปากว่าจะกำชับให้แต่ผลการเรียนที่ออกมาก็ยังติด 0 และ มส. กันหลายคน จากข้อเสนอแนะการ PLC สิ่งที่ครูผู้สอนจะปรับแก้ไขได้ง่ายที่สุดคือปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนใหม่ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสาธิต (Demonstration Method) โดยการแสดงหรือการกระทำให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่างพร้อมๆ กับการอธิบายเป็นขั้นตอน ผู้เรียนสามารถซักถามได้ทุกขั้นตอนตลอดการสาธิต บูรณาการกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ (Process) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ลงมือฝึกปฏิบัติ มีครูผู้สอนเป็นผู้กำกับควบคุมให้ผู้เรียนฝึกฝนปฏิบัติจนเกิดทักษะกระบวนการปฏิบัติ เพื่อสร้างชิ้นงานให้เสร็จสิ้นภายในคาบเรียนวันนั้นๆ คาดว่าหากจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ตามนี้ นักเรียนจะสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานเสร็จทันตามที่กำหนดเวลาไว้ จักทำให้นักเรียนมีคะแนนเก็บเป็นไปตามการวัดผลประเมินผลของรายวิชา หากต้องการให้ผลการเรียนรายวิชาวาดภาพล้อเลียนเป็นไปตามเป้าหมาย

          ดังนั้น ในการพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้ Active Learning รายวิชาการวาดภาพล้อเลียน รหัสวิชา ศ30260 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 ปีการศึกษา 2567 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสาธิต (Demonstration Method) บูรณาการกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ (Process) เพื่อให้ค่าเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเป็นไปตามเกณฑ์การประเมินของระเบียบวัดผลประเมินผลของโรงเรียนห้วยกรดวิทยา จังหวัดชัยนาท ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 61.01 ของผู้เรียนในเชิงประจักษ์ 

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

              2.1 ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ จัดทำโครงสร้างรายวิชาวาดภาพล้อเลียน รหัสวิชา ศ30260 ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ และบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียน และท้องถิ่น

2.2 ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการวาดการ์ตูน การวาดภาพล้อ ศึกษาวิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ศึกษาการจัดทำสื่อนวัตกรรมจากแหล่งต่างๆ นำความรู้ที่ได้มาใช้พัฒนาทักษะการวาดภาพของนักเรียน

2.3 กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายเชิงปริมาณและเป้าหมายเชิงคุณภาพ

2.4 ออกแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PDCA พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาวาดภาพล้อเลียน รหัสวิชา ศ30260

2.5 ออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสาธิต (Demonstration Method) โดยการแสดงหรือการกระทำให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่างพร้อมๆ กับการอธิบายเป็นขั้นตอน ผู้เรียนสามารถซักถามได้ทุกขั้นตอนตลอดการสาธิต บูรณาการกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ (Process) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ลงมือฝึกปฏิบัติ มีครูผู้สอนเป็นผู้กำกับควบคุมให้ผู้เรียนฝึกฝนปฏิบัติจนเกิดทักษะกระบวนการปฏิบัติ เพื่อสร้างชิ้นงานให้เสร็จสิ้นภายในคาบเรียนวันนั้นๆ

2.6 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการรูปแบบการสาธิต (Demonstration Method) บูรณาการกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ (Process) โดยเน้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติเป็นสำคัญ และจัดกิจกรรมเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ปฏิบัติงานหรือสร้างชิ้นงานให้เสร็จสิ้นภายในคาบเรียนวันนั้นๆ

2.7 วัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกิจกรรมด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสม

2.8 สรุปผลการดำเนินงาน ประโยชน์ ข้อสรุปจากบทเรียนที่ได้รับ รวมถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จ

2.9 การเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพจ Facebook กลุ่มห้องศิลปะ เว็บไซต์ของโรงเรียน 

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

     3.1 เชิงปริมาณ

     นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนห้วยกรดวิทยา จังหวัดชัยนาท จำนวน 35 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวาดภาพล้อเลียน รหัสวิชา ศ30260 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 มีผลการเรียนระดับ 3.0 ขึ้นไปไม่ต่ำกว่าเฉลี่ยร้อยละ 60.01 เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินของระเบียบวัดผลประเมินผลของโรงเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนห้วยกรดวิทยา จังหวัดชัยนาท ปีการศึกษา 2567  

     3.2 เชิงคุณภาพ 

     นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนห้วยกรดวิทยา จังหวัดชัยนาท จำนวน 35 คน มีผลการปฏิบัติงาน เรื่อง หลักพื้นฐานของการวาดเส้น รายวิชาวาดภาพล้อเลียน รหัสวิชา ศ30260 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 ที่แสดงให้เห็นการพัฒนาทักษะความสามารถทางด้านทัศนศิลป์ ผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลในระดับดี และสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าได้