ข้อมูลผู้ประเมิน
ชื่อ - สกุล นางสาวบุษกร พืชพันธ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ
สถานศึกษา โรงเรียนห้วยกรดวิทยา
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท
รับเงินเดือนในอันดับ คศ.3
สอนรายวิชา 1. ศิลปะ 3 รหัสวิชา ศ22101 ชั้น ม.2/1-2
2. ศิลปะ 1 รหัสวิชา ศ31101 ชั้น ม.4/1-2
3. วาดเส้นสร้างสรรค์ รหัสวิชา ศ30264 ชั้น ม.4/2
4. การเขียนการ์ตูน รหัสวิชา ศ30262 ชั้น ม.5/2
5. การเขียนภาพล้อเลียน รหัสวิชา ศ30260 ชั้น ม.6/2
6. กฎหมายในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา ส31214 ชั้น ม.4/2
7. ประวัติศาสตร์ 4 รหัสวิชา ส32104 ชั้น ม.5/1-2
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การแก้ไขปัญหา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น
ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวาดเส้นสร้างสรรค์ รหัสวิชา ศ30264 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ปีการศึกษา 2567 โดยการเสริมแรงนักเรียนจากการบูรณาการสื่อ OBEC Content Center ในกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ค่าเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเป็นไปตามเกณฑ์การประเมินของระเบียบวัดผลประเมินผลของโรงเรียน ปีการศึกษา 2567 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 61.27
1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
การจัดการเรียนรายวิชาวาดเส้นสร้างสรรค์ รหัสวิชา ศ30264 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ที่ผ่านมา พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 35 คน มีผลการเรียนวิชาวาดเส้นสร้างสรรค์ ระดับดีเยี่ยม 3.0 ขึ้นไปจำนวน 12 คน เฉลี่ยร้อยละ 40 ระดับปรับปรุงถึงพอใช้ 0-2.5 จำนวน 8 คน เฉลี่ยร้อยละ 22.85 ผลการเรียน มส. จำนวน 16 คน เฉลี่ยร้อยละ 45.71 ซึ่งต่ำกว่า ตัวชี้วัดความสำเร็จของค่าเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับดี (ผลการเรียน 3.00 ขึ้นไป) ตามเกณฑ์การประเมินของระเบียบวัดผลประเมินผลของโรงเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนห้วยกรดวิทยา จังหวัดชัยนาท ที่ได้วางไว้ ซึ่งได้กำหนดค่าเป้าหมายปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 58.76 และปีการศึกษา 2566 ร้อยละ 60.52 ผลการเรียนนักเรียนที่ไม่ถึง 3.00 มีจำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 68.57 ของจำนวนนักเรียนในห้อง จึงส่งผลให้ค่าเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะไม่เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ จากที่ได้นำปัญหานี้ไป PLC กับครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาเหตุที่มาจากนักเรียนไม่มาเรียน หนีเรียน หรือเข้าเรียนแล้วไม่สนใจปฏิบัติงาน งานไม่เสร็จ ให้นำกลับไปทำต่อแล้วนำมาส่งในสัปดาห์ต่อไปแต่นักเรียนก็ไม่มีงานมาส่ง ครูผู้สอนติดตามนักเรียนให้โอกาสส่งงานย้อนหลังและนัดหมายมาเรียนซ่อมเสริม มาฝึกปฏิบัติงานนอกเวลาเรียน แต่นักเรียนก็ยังไม่สนใจ ครูผู้สอนได้ติดต่อแจ้งพฤติกรรมให้ผู้ปกครองทราบ ผู้ปกครองรับปากว่าจะกำชับให้แต่ผลการเรียนที่ออกมาก็ยังติด 0 และ มส. กันหลายคน จากข้อเสนอแนะการ PLC สิ่งที่ครูผู้สอนจะปรับแก้ไขได้ง่ายที่สุดคือปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนใหม่ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ปฏิบัติงานหรือสร้างชิ้นงานให้เสร็จสิ้นภายในคาบเรียนวันนั้นๆ คาดว่าหากจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ตามนี้ นักเรียนจะสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานเสร็จทันตามที่กำหนดเวลาไว้ จักทำให้นักเรียนมีคะแนนเก็บเป็นไปตามการวัดผลประเมินผลของรายวิชา หากต้องการให้ผลการเรียนรายวิชาวาดเส้นสร้างสรรค์เป็นไปตามเป้าหมาย นอกจากครูผู้สอนจะปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้ว ควรนำสื่อการสอนจากแหล่งต่างๆ มาเร้าความสนใจนักเรียนด้วยการใช้สื่อเทคโนโลยี ผลิตสื่อนวัตกรรม หรือใช้สื่อนวัตกรรมจาก OBEC Content Center หรือคลังเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดทำขึ้น สามารถเข้าใช้งานแพลตฟอร์มดังกล่าวได้ที่ https://Contentcenter.obec.go.th. เป็นโปรแกรมสำหรับให้บริการเผยแพร่เนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์แก่นักเรียน ครู ศึกษานิเทศ และบุคลากรทางการศึกษา รองรับการเข้าถึงเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 7 ประเภท ได้แก่ แอพลิเคชั่น, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Pdf, ePub), วีดิทัศน์ (Mp4), รูปภาพ (Jpg, Png), เสียง (Mp3), สื่อมัลติมีเดีย (Flash) และ งานวิจัยทางการศึกษา สามารถใช้งานผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ที่รองรับระบบปฏิบัติการ iOS เวอร์ชั่น 8.0 ขึ้นไปหรือ Android เวอร์ชั่น 4.3 ขึ้นไป หรือ Windows เวอร์ชั่น 8.1 ขึ้นไป นับเป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับนักเรียนและครูสามารถเข้าทบทวนการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา
ดังนั้น ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนออกแบบพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการสื่อการเรียนรู้จาก OBEC Content Center มาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้น Active Learning ที่จะช่วยเสริมแรงให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติทักษะทัศนศิลป์ และทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนของครูผู้สอนให้ได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ เรื่อง หลักพื้นฐานของการวาดเส้น รายวิชาวาดเส้นสร้างสรรค์ รหัสวิชา ศ30264 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 ของผู้เรียนในเชิงประจักษ์ และเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเพื่อให้ค่าเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเป็นไปตามเกณฑ์การประเมินของระเบียบวัดผลประเมินผลของโรงเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนห้วยกรดวิทยา จังหวัดชัยนาท ปีการศึกษา 2567 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 61.27
2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
2.1 ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ จัดทำโครงสร้างรายวิชาวาดเส้นสร้างสรรค์ รหัสวิชา ศ30264 ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ และบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียน และท้องถิ่น
2.2 ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการวาดเส้น ศึกษาวิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ศึกษาการจัดทำสื่อนวัตกรรมจากแหล่งต่างๆ นำความรู้ที่ได้มาใช้พัฒนาทักษะการวาดเส้นของนักเรียน
2.3 กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายเชิงปริมาณและเป้าหมายเชิงคุณภาพ
2.4 ออกแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PDCA พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาวาดเส้นสร้างสรรค์ รหัสวิชา ศ30264
2.5 ออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน Gpas 5 Steps ที่เน้นกิจกรรม Active Learning เสริมแรงด้วยการใช้สื่อการเรียนรู้จาก OBEC Content Center ในกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง หลักพื้นฐานของการวาดเส้น
2.6 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Gpas 5 Steps โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และจัดกิจกรรมเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ปฏิบัติงานหรือสร้างชิ้นงานให้เสร็จสิ้นภายในคาบเรียนวันนั้นๆ
2.7 วัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกิจกรรมด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสม
2.8 สรุปผลการดำเนินงาน ประโยชน์ ข้อสรุปจากบทเรียนที่ได้รับ รวมถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จ
2.9 การเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพจ Facebook กลุ่มห้องศิลปะ เว็บไซต์ของโรงเรียน
3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
3.1 เชิงปริมาณ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนห้วยกรดวิทยา จังหวัดชัยนาท จำนวน 35 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวาดเส้นสร้างสรรค์ รหัสวิชา ศ30264 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 มีผลการเรียนระดับ 3.0 ขึ้นไปไม่ต่ำกว่าเฉลี่ยร้อยละ 61.27 เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินของระเบียบวัดผลประเมินผลของโรงเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนห้วยกรดวิทยา จังหวัดชัยนาท ปีการศึกษา 2567
3.2 เชิงคุณภาพ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนห้วยกรดวิทยา จังหวัดชัยนาท จำนวน 35 คน มีผลการปฏิบัติงาน เรื่อง หลักพื้นฐานของการวาดเส้น รายวิชาวาดเส้นสร้างสรรค์ รหัสวิชา ศ30264 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 ที่แสดงให้เห็นการพัฒนาทักษะความสามารถทางด้านทัศนศิลป์ ผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลในระดับดี และสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าได้